
รีวิว Love Simon เนื้อเรื่อง
เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสหยิบเอาหนังเรื่อง Love, Simon กลับมาดูอีกครั้ง ความประทับใจแรกเป็นอย่างไร ความประทับใจที่สองก็ละมุนและทำให้ยิ้มกรุ่นได้เหมือนเดิม นอกจากนั้นยังมองเห็นข้อคิดดี ๆ มากมายในหนังจนอยากแชร์และชักชวนให้ทุกคนไปดูกัน
แม้จะนิยามตัวเองว่าเป็นหนังรักวัยรุ่นแบบโรแมนติกคอมเมดี้ แต่ตัวหนังยังนำเสนอภาพการเติบโตรวมถึงปัญหาที่วัยรุ่นคนหนึ่งอาจต้องเผชิญในชีวิตมัธยมได้อย่างครบถ้วน Love, Simon เลยไม่ได้เหมาะแค่กับเด็กวัยรุ่นเท่านั้น แต่เป็นหนัง Coming of age ที่เหมาะสำหรับผู้ใหญ่และผู้ปกครองซึ่งลูกกำลังอยู่ในช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อด้วย เพราะหนังเรื่องนี้จะทำให้คุณเข้าใจลูก ๆ และเปิดใจมากขึ้น รีวิวหนังวาย
Love, Simon หรือชื่อภาษาไทยคือ อีเมลลับฉบับไซม่อน เป็นเรื่องราวของเด็กหนุ่มไฮสคูล “ไซม่อน” (รับบทโดย Nick Robinson จาก Jurassic World) มองผิวเผินไซม่อนเป็นเด็กหนุ่มหน้าตาดีคนหนึ่ง อยู่ในครอบครัวที่ดี และมีเพื่อนสนิทที่น่ารัก แต่ภายใต้ความปกติสุขทุกอย่างที่เด็กวัยรุ่นคนหนึ่งจะมีได้ ไซม่อนปิดบังความลับข้อหนึ่งไว้…เขาเป็นเกย์

จุดเปลี่ยนของทุกอย่างคือวันที่มีบล็อกหนึ่งถูกเขียนขึ้น “บลู” เด็กหนุ่มปริศนาคนหนึ่งในโรงเรียนเดียวกับเขาเปิดตัวว่าเป็นเกย์ นั่นคือครั้งแรกที่ไซม่อนรู้สึกว่าเจอใครที่เหมือนกับตัวเอง เขาตัดสินใจส่งอีเมลหาไปหาบลู แล้วทั้งสองก็เริ่มต้นแลกเปลี่ยนเรื่องราวชีวิตและความลับที่ต้องปกปิดกับคนรอบตัว ความรู้สึกดี ๆ กำลังก่อตัวจนกระทั่งเพื่อนนักเรียนคนหนึ่งเห็นอีเมลลับเหล่านั้น ไซม่อนเลยต้องวุ่นวายปกป้องความลับของตัวเอง ไปพร้อม ๆ กับการค้นหาว่าบลูคือใครกันแน่ในโรงเรียนแห่งนี้ เพราะดูเหมือนไซม่อนจะมีความรักเข้าซะแล้ว ดูหนัง,ดูหนังออนไลน์
ตลอดเรื่องจะมีเกร็ดความรู้จิตวิยาสอดแทรกไว้อย่างแนบเนียน ต้องยกความดีความชอบให้ Becky Albertalli นักเขียนเจ้าของหนังสือ Simon vs. the homo sapiens agenda ต้นเรื่องของหนังเรื่องนี้ เพราะเธอเป็นนักจิตวิทยาคลินิกผู้เชี่ยวชาญด้านวัยรุ่นโดยเฉพาะ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ Love, Simon จะนำเสนอหลากหลายปัญหาของวัยรุ่นเท่าที่คุณจะคิดออก ทั้งการถูกกลั่นแกล้งหรือล้อเลียนในโรงเรียน การทะเลาะกับเพื่อน ความไม่เข้าใจจากคนรอบตัวไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือครู ปัญหายอดฮิตอย่างเรื่องความรัก หรือแม้แต่การไม่เข้าใจตัวเองของวัยรุ่น ทุกเรื่องราวปัญหาที่ไซม่อนต้องเผชิญถูกร้อยเรียงแบบย่อยง่าย และไม่ลืมที่จะแอบสอดแทรกวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นเข้าไปด้วยอย่างเนียน ๆ
รีวิว Love Simon เนื้อหาโดยรวม
หนังเรื่องนี้เป็นหนังฟีลกู๊ดมาก ๆ อีกเรื่องหนึ่ง มีความคอมเมดี้ให้อมยิ้มได้ ฉากอารมณ์ก็บีบหัวใจ คงทัชความรู้สึกหลาย ๆ คน (โดยเฉพาะคนมีประสบการณ์ตรง) ตัวละครแต่ละตัวก็โดดเด่นน่าสนใจในตัวเอง ซึ่งนักแสดงทุกคนก็ถ่ายทอดคาร์แร็กเตอร์ออกมาได้ดีและน่ารักมาก โดยเฉพาะตัวเอกอย่างไซม่อน หนังดำเนินเรื่องเร็วไม่ทิ้งช่วงให้ผู้ชมเบื่อเลย และด้วยความที่เป็นหนังรักของเด็กหนุ่มที่ต้องปกปิดความชอบของตัวเอง มันจึงไม่ใช่หนังรักจ๋า ๆ ที่หวือหวาและเน้นเพียงแค่เรื่องของคู่รักเหมือนหนังรักเรื่องอื่น แต่เป็นการเล่าเรื่องราวความรักในแต่ละบริบทของไซม่อน ที่พยายามมองว่าตัวเองไม่แตกต่างจากคนอื่น ๆ แค่เพราะรสนิยมทางเพศที่แตกต่าง (I’m just like you ประโยคเด็ดของหนังเรื่องนี้) ทั้งความรักความเข้าใจในครอบครัว มิตรภาพความรักระหว่างเพื่อน และความรักดี ๆ ที่เขาคู่ควรได้รับเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศทั่วไป
หากคุณมีเวลาว่างซักสองชั่วโมง… แล้วอย่างลองดูหนังรักดี ๆ ซักเรื่อง Love, Simon เป็นหนึ่งในตัวเลือกดี ๆ เหล่านั้นแน่นอน แล้วคุณจะได้เสพหนังที่เป็นมากกว่าหนังรักที่ทำให้หัวใจเต้นแรง

เรื่องราวเกี่ยวกับ ไซมอน วัยรุ่นไฮสคูลธรรมดาๆ คนหนึ่งที่ชีวิตมีความสุขปกติทุกอย่าง มีเพื่อนที่แสนดี มีครอบครัวที่น่ารัก ชีวิตของเค้าดูมีความสุขไปซะทุกเรื่อง เว้นแต่ เค้ามีความลับที่ไม่สามารถบอกกับใครได้ เพราะแท้จริงแล้ว เค้าไม่ได้เป็นชายแท้เต็มร้อย หากแต่ลึกๆ เค้าเป็นเกย์ เค้าเก็บความลับข้อนี้เรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่ง อยู่ๆ ก็มีเกย์คนหนึ่งโพสข้อความระบายความอัดอั้นตันใจลงในเว็บบอร์ดของโรงเรียน ในนามแฝงว่า บลู เมื่อไซมอนได้อ่านข้อความนี้ เค้ารู้สึกว่าเค้าไม่ได้โดดเดี่ยวอีกต่อไป ไม่ได้มีแค่เค้าที่ใช้ชีวิตโดยทนเก็บความลับข้อนี้ไว้ และนั่นเลยทำให้เค้าตัดสินใจเริ่มติดต่อกับ บลู ซึ่งนั่นจะทำให้ชีวิตของไซมอนเปลี่ยนไป
หนังวายน่าดูน่าติดตาม
นี่คือหนังวัยรุ่น ที่พูดเรื่อง coming of age ได้อย่างสนุกและตรงไปตรงมา ชอบการที่หนังเดินเรื่องโดยใช้ความอยากรู้ของตัวละครเข้าช่วย ในขณะเดียวกัน ปัญหาที่เข้ามาหาตัวละครก็เป็นอีกส่วนที่ดึงให้เราอยู่กับหนังและเอาใจช่วยตัวละครให้ผ่านพ้นมันไปให้ได้ นอกจากหนังจะพูดเรื่อง coming of age แล้ว การสร้างความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างตัวละครในแก็งเพื่อนของไซมอนก็ทำออกมาได้สนุกและชวนให้ลุ้นถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป
พาร์ทครอบครัวของหนังเรื่องนี้ คืออีกสิ่งที่ทำให้ตัวละครเติบโตขึ้น และในหนังวัยรุ่นส่วนใหญ่ก็ชอบเล่นกับประเด็นนี้ ยิ่งเป็นหนังที่พูดถึงความแตกต่างในเรื่องของเพศสภาพก็ยิ่งขาดไม่ได้ เชื่อว่าพาร์ทครอบครัวต้องทำให้ใครหลายๆ คน น้ำตาไหลออกมาโดยที่ไม่ได้ตั้งใจแน่นอน รีวิวซีรีย์วายฮิต

อีกพาร์ทหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้พาร์ทครอบครัว คือพาร์ทของกลุ่มเพื่อนไซมอน ที่มีความเป็นมนุษย์สูงมากๆ คือเราเข้าใจและอินกับความสัมพันธ์แบบนี้ และก็ยังเป็นอีกพาร์ทที่ไซมอนต้องเลือกตัดสินใจอะไรหลายๆ อย่าง หรือในท้ายที่สุด อาจต้องเลือกปล่อยให้เป็นเรื่องของเวลา แต่ไม่ว่าจะยังไง เพื่อนแท้ จะไม่มีวันทิ้งกัน ไม่ว่าเพื่อนเราจะเป็นอย่างไรก็ตาม
หากพูดถึงเรื่องของการเหยียดเพศ เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายทอดประเด็นนี้ผ่านสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวละครไซมอนออกมาได้ดีมากๆ ไม่ว่าจะทั้ง dialogue ที่ไซมอนคุยกับพ่อ พ่อคุยกับครอบครัว เพื่อนที่โรงเรียน อาจารย์ต่างๆ คือมันเป็นการเล่าที่ดูไปแล้วรู้สึกว่ามันมีจริงๆ ในสังคม และสังคมมันก็เป็นแบบนี้แหละ
ส่วนตัวเราชอบการเล่าเรื่อง การดำเนินเรื่องเกือบทุกอย่างในหนัง รวมทั้งเพลงประกอบที่โคตรเพราะและติดหู แต่สิ่งที่เราไม่ชอบมันคือช่วง climax ของเรื่องที่รู้สึกว่ายัดเยียดมากเกินไปหน่อย คือพอมันปูเรื่องมาแบบธรรมดาๆ แต่เลือกจบแบบแฟนตาซี เลยทำให้หนังเรื่องนี้ค่อนข้างหลุด tone สำหรับเรา รีวิวหนังวายดัง
หนังวายรักโรแมนติก
โดยรวม Love, Simon คือหนัง coming of age วัยรุ่นที่ควรค่าแก่การไปดูในโรงมากๆ ควรค่าแก่การพาพ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูง และคนรอบๆ ตัวที่สนิทไปดู สำหรับเรา หนังเรื่องนี้มันคือหนังครอบครัวที่เล่าประเด็นถึงการยอมรับ การเข้าใจ และการให้คุณค่าของคนแต่ละคนที่ตัวตนไม่ใช่ที่เพศ ได้อย่างลงตัวและกลมกล่อมมากๆ
Love, Simon หรือชื่อเดิม Simon vs The homo sapiens agenda เปิดตัวบทแรกด้วยบทสนทนาของไซม่อนกับมาร์ตินในล๊อกเกอร์ ไซม่อนลืมล๊อกเอาท์อีเมล์ตัวเองบนคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน มาร์ตินไปแอบเห็นอีเมล์ที่ไซม่อนคุยกับ “บลู” หนุ่มปริศนา จึงรู้ว่าไซม่อนเป็นเกย์ จึงเอาความลับนี้มาแบล็คเมล์ไซม่อน หวังหาทางใกล้ชิดกับแอบบี้เพื่อนสาวคนสนิทชมรมละครเวทีที่ไซม่อนสังกัด
เคยมีคนพูดกับผมว่า อย่าให้ผู้หญิงเขียนนิยายวาย เพราะมันจะฟุ้งจนกลายเป็น cotton candy ผมเคยเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง พยายามหาข้อโต้แย้งคำพูดนี้ แต่เหล่านักเขียนสาวสายวายก็กระหน่ำทำผมผิดหวังมาโดยตลอด และแน่นอนครั้งนี้ Becky Alberlli ผู้เขียหนังสือเล่มนี้ ก็ทำผมผิดหวังอีกคำรบหนึ่ง
นิยายเล่มนี้นำเสนอประเด็นที่ดีหลายๆประเด็น ทั้งการปิดบังตัวตน สังคมเด็กมัธยมปลาย การเหยียดเกย์ ความสัมพันธ์ของเด็กเกย์กับครอบครัว และมุมมองการเลือกทางเดินในอนาคต ซึ่งผมมองว่าแม้มันจะเชยไปบ้างเรื่องการเหยียดเกย์ การปิดบังตัวตน (เพราะสมัยนี้มันไม่ใช่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว) แต่มันเป็นเรื่องที่ถ้าใช้เวลากับหน้ากระดาษกับมันเยอะๆ นี่จะเป็นนิยายคว้ารางวัลได้เลยทีเดียว เป็นประเด็นที่น่าเล่นมากกว่าเรื่อง รักๆ ผิดหวัง ของวัยรุ่นมัธยมมากมายนัก

แต่เนื่องจากมันเป็น “หลายๆ”ประเด็น จึงทำให้เนื้อที่ 300 หน้าน้อยเกินไปที่จะนำพาทุกประเด็นไปถึงบทสรุปที่สุดทาง ท้ายที่สุดผู้เขียนก็ทำได้เพียงจบประเด็นอื่นๆที่ดีไว้กลางทางแบบลวกๆ และนำพาเฉพาะประเด็น “สมหวังในความรักวัยเรียน” ให้จบแบบที่เธอคิดว่าสุขสมที่สุด จุดแข็งข้อดีของเรื่องคือ ตัวพระเอก ไซม่อนเองนั่นล่ะ แม้เขาจะแน่ใจในเพศนิยมของตน แต่กลับไม่แน่ใจเรื่องความรู้สึก ว่ากับชายแปลกหน้าที่คุยด้วยเขารู้สึกรักคนคนนั้นจริงๆ หรือรักจินตนาการถึงคนคนนั้นกันแน่ เห็นได้จากเขาพยายามหาหลักฐานเชื่อมโยงระหว่าง “บลู” หนุ่มปริศนาในอีเมล์ กับเพื่อนชายคนหนึ่งในชมรมการแสดง และพยายามเชื่อว่านั่นแหละ คือคนคนเดียวกัน คนเขียนลำดับความว้าวุ่นของวัยรุ่นได้ดีกว่านิยายไทย ที่ส่วนใหญ่มักจะเขียนว่าชอบใครก่อน แล้วก็เริ่มสับสนเพศลักษณ์ เพศนิยมของตนทีหลัง ซึ่งจริงๆแล้วในเชิงจิตวิทยา เราจะให้ความสำคัญกับตัวเราก่อนเสมอ ก่อนที่จะเริ่มไปมองคนอื่น อย่างเช่นเด็กตุ๊ดส่วนใหญ่ก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นตุ๊ดก่อนที่จะรู้สึกชอบผู้ชายเสียอีก
เสน่ห์อีกอย่างคือ กลิ่นอายของปี 1990 – 2000 ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้มาก แม้คนเขียนจะพยายามใส่ประเด็น social network ไว้บ้างกันไม่ให้มันเชย (Tumbler ไม่พูดถึง Facebook เลย) แต่การติดต่อด้วยโทรศัพท์ เลิกเรียนไปเล่นบาส ทำกิจกรรม ฟังเพลงนัดทำงานรวมกลุ่มในร้านไดน์นิ่งไม่ใช่ร้านกาแฟ มันทำให้นึกถึงโลกในยุคก่อนปี 2000 ซึ่งคนเขียนทำได้ดีมากในจุดนี้ ไม่มากไม่น้อย ไม่มีการพูดถึง แต่ทำให้รู้สึกได้แทน น้อยคนที่จะทำได้ หากไม่เคยอยู่ในยุคนั้นและอินกับมันจริงๆ และทำให้คนอ่านในวัยยี่สิบปลายสามสิบต้นอินได้ไม่ยาก
รีวิว Love Simon ความรู้สึกตอนดู
แต่นั่นนับเป็นจุดอ่อนอีกเช่นกัน เพราะแนวทางที่เขียนนั้นเน้นจับเด็กวัยรุ่นเสียมากกว่า (เพราะเน้นประเด็นความรักเยอะกว่าประเด็นชีวิต ครอบครัว การมองโลก) เด็กวัยรุ่นที่อ่านจะไม่อินกับโลกในยุคก่อนปี 2000 เท่าไรนัก นี่จึงนับเป็นความเสี่ยงใช่น้อยเมื่อสร้างโลกในหนังสือให้เป็นแบบนั้น
ความไม่สมเหตุสมผลเป็นอีกจุดอ่อนหนึ่งที่เห็นได้ชัด ความรู้สึกรักชอบ ความผูกพันอย่างไม่มีที่มาที่ไป ทำไมจู่ๆไซม่อนหลงรักบลู แล้วทำไมไซม่อนถึงตัดใจจากเพื่อนร่วมชมรมได้ แล้วทำไมพอเจอกับบลูตัวจริงปุ๊ปแล้วชอบทันที แล้วทำไมบลูตัวจริงที่อยู่ใกล้ๆไซม่อนมานานแสนนานไม่ยื่นมามาช่วยตอนไซม่อนวิกฤต ทั้งๆที่ตัวเองก็บอกว่าหลงรักไซม่อนและไม่อยากให้ไซม่อนต้องเจ็บ

เหตุผลอาจจะเป็นเพราะจังหวะในการดำเนินเรื่องมันไม่เอื้อให้ตัวละครโผล่ออกมาตอนนั้นได้ แต่ถ้าจะให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ ควรจะมีเรื่องราวแทรกมานิดนึงว่า “ทำไม” หรือไม่ก็ปรับโดยการตัดเรื่องที่บลูตัวจริงอยู่ใกล้ๆไซม่อนและเห็นเขาทนเจ็บใจออกไปก็ได้ เพราะมันทำให้ไม่สมจริงเอาเสียเลย คนอ่านได้แต่อ่านแล้วตั้งคำถามไปมา แทนที่จะได้ซาบซึ้งกับความรักของหนุ่มมัธยมสองคน กับมีแต่เครื่องหมายคำถามลอยไปลอยมาเต็มหัว
บทสรุปปิดท้าย
จริงๆแล้วในการเขียนหนังสือมันไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างจังหวะดำเนินเรื่องกับความสมเหตุสมผล มันสามารถปรับเข้าหากันให้มันราบรื่นได้ นี่คือทักษะที่ “นักเขียนมืออาชีพ” ต่างกับ “คนเขียนหนังสือเป็น” และเชื่อว่านักเขียน นักอยากเขียน ทุกคนจะต้องเจอเรื่องนี้เสมอ

สุดท้ายแล้ว Simon vs The homo sapiens agenda ก็เป็นเพียงนิยายรักวัยรุ่นธรรมดาๆ ที่เปิดตัวด้วยประเด็นที่น่าสนใจ แต่พอถึงเวลาจริงๆ โครงเรื่องก็ไม่แตกต่างกับนิยายวายดาษๆทั่วไปเล่มอื่นๆ ไร้สิ่งน่าจดจำ และทุกอย่างกลับจบได้ภายใน 1.6 หน้ากระดาษพอคเก็ตบุ๊ค แม้จะอ่านจนจบรวมถึงไปอ่านคำนำจากผู้เขียนแล้ว ก็ยังคงไม่เข้าใจความคิดของตัวละครทั้งหมดในเล่ม … และแน่นอน รวมถึงความคิดของคนเขียนด้วย