รีวิว รักแห่งสยาม

รีวิว รักแห่งสยาม เนื้อเรื่องโดยรวม

รีวิว รักแห่งสยาม ภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม เป็นภาพยนตร์ไทยแนวโรแมนติก ดราม่า ผลงานการกำกับของ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ภาพยนตร์บอกเล่าเรื่องราวของกลุ่มวัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง และเรื่องราวความรักของพวกเขา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการค้นหาความเป็นตัวเอง ความกดดัน ความหวัง ความฝันและการฟังเสียงคนรอบข้าง ที่ล้วนก็มีอิทธิต่อชีวิตพวกเขาด้วยกันทั้งนั้น รีวิวหนังวาย

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นักแสดงมากความสามารถมากมายมาร่วมแสดงไม่ว่าจะเป็นมาริโอ้ เมาเร่อ มารับบทเป็น โต้ง เด็กหนุ่มชั้นม.6 เขาเป็นที่อิจฉาของเพื่อน ๆ เพราะมีแฟนสวย คนต่อมาคืออธิชา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ รับบทเป็น โดนัท แฟนสาวแสนสวยของโต้ง โดยพักหลังมาโต้งเริ่มที่จะถอยห่างออกมาจากเธอ เพราะเขาเริ่มที่จะค้นพบความเป็นตัวเองที่แท้จริง ซึ่งโดนัทเธอก็สวยพอที่จะเดินจากโต้งมาเพื่อไปเริ่มความรักครั้งใหม่

รีวิว รักแห่งสยาม เรื่องย่อเป็นยังไง

คนต่อมาคือวิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล มารับบทเป็น มิว เด็กชายวัยเดียวกันกับโต้ง เขาเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ทางดนตรีก็กำลังทุ่มเทความรักให้กับเสียงเพลงและวงดนตรีของตัวเอง มิวเป็นเด็กผู้ชายขี้เหงาที่ไม่เคยได้สัมผัสกับความรักอันแท้จริงเสียที ตั้งแต่อาม่าตายจากไป คนต่อมาคือกัญญา รัตนเพชร์ มารับบทเป็น  หญิง เพื่อนบ้านของมิว ที่มักจะคอยให้กำลังใจและแอบมองมิวอยู่ห่าง ๆ โดยที่มิวไม่เคยรับรู้ความรู้สึกที่หญิงมีต่อตัวเขาเลย คนต่อมาคือพลอย เฌอมาลย์ มารับบทเป็น จูน คนดูแลวงดนตรีของมิวที่หน้าตาเหมือนกับ แตง พี่สาวของโต้งที่หายตัวไปสมัยที่เขายังเด็ก ดูหนัง,ดูหนังออนไลน์

คนต่อมาคือสินจัย เปล่งพานิช มารับบทเป็น สุนีย์ แม่ของโต้งที่จ้างจูนปลอมตัวเป็นแตงเพื่อมารักษาอาการติดเหล้าให้กับพ่อ และคนสุดท้ายที่จะมาแนะนำในวันนี้คือทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี มารับบทเป็น กร พ่อของโต้งที่มีชีวิตอยู่ภายใต้ความรู้สึกผิดต่อลูกสาว โดยภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม เป็นภาพยนตร์เมื่อปี 2550

รีวิว รักแห่งสยาม3

ภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม เป็นเรื่องราวความรักในหลายๆแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นความรักของคนในครอบครัว ความรักของเพื่อน หรือแม้กระทั่งความรักแบบแฟน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความฝัน และความหวังที่เข้ามาเป็นส่วนประกอบในการใช้ชีวิต ถ้าอยากรู้ว่าเรื่องราวความรักบนความฝันจะเป็นอย่างไรต้องติดตามในภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม

หนังเรื่องนี้เป็นหนังรักที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนั้น เพราะเนื้อหาของหนังกล้าที่จะนำเสนอเรื่องของ LGBT ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ของไทยเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ใครยังไม่เคยดูหามาดูกันได้แล้วนะคะในภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม

สดๆ ร้อนๆ เลยครับ วันนี้ ผมได้ไปดู “รักแห่งสยาม” ถึงในโรงมาเรียบร้อย หลังจากปล่อยตัวเองจมกับกองงาน และให้ตะกอนต่างๆ เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้มันตกลงไปนอนก้นจนได้ที่

ช่วงหลายวันที่ผ่านมา ผมได้รับข้อมูลจากหลายที่ จนพอรู้เป็นเลาๆ ว่าเรื่องราวมันจะเป็นแบบใด ไปในทางไหน ดีพอแก่การซื้อตั๋วเข้าไปดูหรือไม่ จนในที่สุด วันเวลาที่รอคอยก็มาถึง ในที่สุด ผมก็มีเวลาว่างที่จะไปดูหนังเรื่องนี้จนได้ รีวิวซีรีย์วายฮิต

หนังรัก หนังไทย ความรักที่เกิดที่สยาม

รักแห่งสยาม หรือ The Love of Siam หนังไทยที่โปรโมตตัวเองว่าเป็นหนังวัยรุ่นใสๆ หนังเรื่องความรักที่เกิดขึ้น ณ สยาม แหล่งท่องเที่ยวช้อปปิ้งพบปะของเหล่าวัยรุ่นเมืองหลวง แน่นอนว่า เรื่องรักหลายๆ เรื่องของวัยรุ่นก็มีจุดกำเนิดที่นี่ด้วยเช่นกัน นี่คือ เรื่องหนึ่งในบรรดาหลายๆ เรื่องเหล่านั้น

แต่เรื่องราวข้างในหนัง มันซับซ้อนเกินกว่าในหนังตัวอย่างหลายเท่าตัว แถมด้วยวาระซ่อนเร้นที่ทำให้แต่ละคนรู้สึกกับหนังกันไปต่างๆ นานา

หากคุณไม่อยากอ่านต่อ ก็ข้ามไปได้นะครับ เพราะผมอาจจะเขียนลึกไปถึงเรื่องราวในหนังบ้าง หากไม่ใส่ใจและยังไงก็อยากอ่าน ก็ขอเชิญอ่านต่อได้ตามอัธยาศัย…

หลายคนอาจรู้สึกแหยงๆ ที่ใครๆ หลายคนผู้เคยไปดูมาก่อนแล้ว ระบุว่า มันคือหนังเกย์เด็ก แต่น่าแปลกที่ผมกลับไม่รู้สึกลดความอยากดูลงหลังจากรู้เรื่องนี้ ผิดกับหนังทุกๆ เรื่องก่อนหน้า ทำไมกันนะ ก็พยายามตอบตัวเองอยู่เหมือนกัน…

เรื่องราวในหนัง ผมว่า ถูกวางไว้ได้ดีทีเดียว มีจุดเล็กจุดน้อยให้เรามองเห็นในแต่ละฉาก ถ้าดูอย่างสังเกต ก็จะตามเรื่องและเข้าใจตามได้ง่าย ถึงไม่สังเกตก็ใช่จะตามไม่ทันนะครับ อย่างไรก็ตาม มันก็แสดงให้เห็นว่า ผู้กำกับฯ เขาพิถีพิถันกับรายละเอียดจริงๆ รีวิวซีรีย์วาย

ปัญหาของครอบครัว ก็คือ ปัญหาของสังคม การตั้งคำถามของตัวละคร ก็คือ การฉุดให้คนดูฉุกคิดตาม ไม่เว้น แม้แต่เรื่องความรัก และโดยเฉพาะการเลือกจะเป็น ผู้ชายที่รักผู้หญิง หรือผู้ชายที่รักเพศเดียวกัน

หลายครั้ง เราพบว่า เรื่องกำหนดให้ตัวเอกอย่าง “โต้ง” (มาริโอ้ เมาเร่อ) ต้องเลือก แรกๆ อาจจะไม่กล้าเลือก เพราะความรักที่มากเกินไปของผู้เป็นแม่ แต่พอถึงวันหนึ่ง เหตุการณ์ต่างๆ ประกอบกันจนทำให้แต่ละคนได้คิด และเปลี่ยนความคิด การเลือกของคนที่ไม่เคยกล้าเลือก จึงเป็นเหตุการณ์ที่แสนยากลำบากเมื่อถึงวันที่ต้องเคยเสียที

หนังบอกว่า ชีวิตคนมี “ทางเลือก” เสมอ

แม้แต่เรื่องราวในหนัง ในระหว่างที่มันยังไม่จบ คนดูสามารถคิดตอนจบได้หลายทางแล้วแต่ว่า คนดูเลือกจะให้มันเป็นไปในทิศทางไหน ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับตอนจบในหนังเลยก็ได้ ตอนจบในหนัง เป็นแค่ทางเลือกทางหนึ่งที่คิดโดยผู้กำกับฯ เท่านั้นเอง

หนังวาย จากผู้กำกับคนดัง

ประเด็นที่เด่นๆ ของหนังยังมีอีกหลายจุด ในความรู้สึกของผม ความรักอาจเป็นประเด็นหลัก แต่ปัญหาครอบครัวที่เกิดขึ้น(จากความรัก) ก็เป็นประเด็นที่แสนเขื่องยิ่งกว่ารักของเด็กหนุ่มเพศเดียวกันพอดู หนังเรื่องนี้ จึงไม่ใช่หนังที่ชูประเด็นความเป็นเกย์ หากแต่ชูประเด็นเรื่องรักหลากหลายรูปแบบที่พันเกี่ยวกัน มีรักบางรูปแบบมีปัญหา ก็เชื่อมโยงไปถึงรักในรูปแบบอื่นๆ ให้มีปัญหาไปด้วย รักระหว่างเพศเดียวกันจึงเป็นเพียงประเด็นย่อยประเด็นหนึ่งเท่านั้น

หากแต่มันเป็นเรื่องราวช็อกคนดู เพราะเขาคาดไม่ถึงว่าจะได้เจอนั่นเอง

ไม่แน่ ในอนาคต สังคมอุดมเกย์แห่งนี้ อาจจะมีหนังที่พูดถึงเกย์มากขึ้นเรื่อยๆ ทำใจให้ยอมรับและเปิดใจเอาไว้ จะได้ไม่ตะขิดตะขวงหากต้องออกจากบ้านไปดูหนังเหล่านี้ ขออย่างเดียวว่า เวลาตัดหนังตัวอย่าง ช่วยบอกกันชัดๆ กว่านี้หน่อย คนดูจะได้ทำใจถูก

ผมมีความรู้สึกว่า คุณมะเดี่ยว ผู้กำกับฯ ผู้มีเครดิตจาก “คน ผี ปิศาจ” และ “13 เกมสยอง” กำกับการแสดงของตัวละครแต่ละตัวได้ดี โดยเฉพาะฉากขยี้หัวใจชายอย่างผมนั้น มีหลายฉากทีเดียว ที่ทำให้ลูกผู้ชายหัวใจอ่อนแออย่างผม ถึงกับต้องหลั่งน้ำตาให้ ทั้งแบบไหลเอ่อๆ ทั้งแบบล้นทะลักอย่างอั้นไว้ไม่อยู่

พาให้สงสัยในตัวเอง ว่า.. คนที่ครอบครัวไม่อบอุ่นอย่างผม เหตุใดถึงอินกับเหตุสะเทือนใจในครอบครัวของหนังเรื่องนี้นักนะ

รีวิว รักแห่งสยาม5

โดยเฉพาะ ฉากที่ “กร” (กบ ทรงสิทธิ์) เห็นเมียตัวเองกินข้าว…นั่นอะ จี๊ดสุดๆ นี่ถ้าไม่กลัวเสียจริตต่อหน้าคนที่ไม่รู้จักในโรงหนังแล้วล่ะก็ มีได้ส่งเสียงสะอื้นกันออกมาบ้างล่ะ

ตอนแรกเราเฉยๆกับเรื่องนี้ อิมเมจของเรื่องนี้ที่เราคิดไว้คือหนังรักชายหญิงปกติธรรมดาที่พยายามยัดเยียดประเด็นรักร่วมเพศเข้ามาเพื่อเรียกแขกให้ดู เพราะปกติเวลาเราเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะมีแต่คนพูดถึงฉากเกย์บ้างแหละ พูดถึงว่ารู้สึกหักมุมบ้างแหละ จนเหมือนตอนนั้นเราไม่ได้เห็นด้านอื่นๆของหนังเรื่องนี้เลยนอกจากประเด็นรักร่วมเพศซึ่งพอมาดูแล้วผิดกับที่คิดทั้งหมด

ถ้าให้เราบอกคือหนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังรัก มันคือหนังของการค้นหาตัวตนของเด็กที่กำลังเติบโตในสภาพครอบครัวที่พังทลาย เราไม่รู้มาก่อนว่าประเด็นในเรื่องมันจะหนักขนาดนี้ กลายเป็นว่าโดยรวมหลายๆสิ่งในเรื่องเราไม่แปลกใจว่าทำไมมันถึงดังและมีคนชอบมากในช่วงนั้น เราว่าน่าจะเป็นเพราะประเด็นพวกนี้แหละที่ทำให้มันกลายเป็นหนังที่ดูมีอะไรขึ้นมา และพอเราดูจบเราก็พบว่าฉากเกย์ไม่ได้ใส่มาแบบยัดเยียด แต่ใส่มาเพื่อให้เห็นและเข้าใจในพัฒนาการของตัวละครมากกว่า

รีวิว รักแห่งสยาม ความรู้สึกหลังดู

เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว 4 คน พ่อแม่พี่สาวน้องชาย อยู่กันอย่างสงบสุขเป็นปกติ แต่กลายเป็นว่าอยู่ดีๆวันหนึ่ง พี่สาวที่ไปเที่ยวกับเพื่อนก็หายไปและไม่มีวี่แววว่าจะกลับมาอีกเลย เธอไปเดินป่าจึงไม่รู้ว่าตอนนี้ไปอยู่ที่ไหน อาจจะตายไปแล้วก็ได้ และนี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ครอบครัวที่มีความสุขอยู่ดีๆเกิดการเปลี่ยนแปลง

เราชอบการแสดงของมาริโอ้ เมาเร่อเรื่องนี้มากนะ คือเราอยู่ในยุคที่ติดภาพเขาจากบทแบบอื่นไปแล้วแต่พอมาเรื่องนี้เรากลับรู้สึกว่าเขาไม่ใช่แบบในเรื่องอื่น เรารู้สึกว่าเขาเป็นเด็กหนุ่มที่รู้สึกมีปมทางครอบครัวจริงๆ มันเป็นตัวละครที่ดูอึดอัดแปลกๆและมาริโอ้เดินเรื่องได้ดีเลย แต่ที่ดีกว่าคงเป็นตัวแม่อย่างนก สินใจ และพ่ออย่างกบ ทรงสิทธิ์ที่การเข้าฉากร่วมกันเป็นอะไรที่อลังมากกก มันให้ความขนลุกแบบแปลกๆจากการแสดงของพวกเขา ยิ่งบทที่เขียนมาแล้วต้องใช้อารมณ์เป็นหลักซึ่งพวกเขาทำออกมาได้ดีมากยิ่งทำให้เรื่องนี้ดีขึ้นไปอีก

รีวิว รักแห่งสยาม6

เรื่องนี้มีอะไรดีๆมากกว่าฉากเกย์ที่ทุกคนพูดถึงกันนะ ทั้งประเด็นสังคมเรื่องเพศด้วย เรื่องครอบครัวที่หลักกว่า เราชอบมาก เรื่องนี้พูดถึงปัญหาในครอบครัวออกมาได้ดีมาก ถ่ายทอดปัญหาระหว่างตัวละคร ความสัมพันธ์ต่างๆ ยิ่งการเปลี่ยนไปจนน่ากลัวภายในครอบครัวที่สร้างบรรยากาศออกมาได้ดี เอาเป็นว่าเราไม่อยากให้ทุกคนพลาดหนังเรื่องนี้ไปเพราะคิดว่าเป็นหนังรักวัยรุ่นธรรมดา ที่จริงมันมีอะไรมากกว่านั้นเยอะ

มาเต็มสิบแบบนี้มีแต่อวยอย่างเดียวแน่ๆเลย55555 ใช่ค่ะ คุณคิดถูกแล้ว เรื่องนี้ไม่อวยไม่ได้จริงๆค่ะ เดิมทีเคยดูผ่านๆมาตอนเด็กแต่ไม่รู้เรื่อง พอโตมาเห็นคนทวิตรีวิวว่าเรื่องนี้ดีมากกกก แล้วเราก็สนใจอยู่แล้วด้วยเลยเป็นเหตุที่ทำให้ได้ดู

เรื่องราวความรักหลายแง่มุม สรุปโดยรวม

 ตอนแรกคิดไว้ว่าเรื่องนี้มันต้องจัดดราม่าความรักของชายชายหนักแน่เลย ปรากฏว่าไม่ได้มีดีแค่เรื่องความรัก เห็นฉากที่ครอบครัวของโต้งมีการสวดภาวนาก่อนทานข้าวเราคิดว่าบ้านนี้ต้องเคร่งศาสนาแน่ๆแต่กลับเป็นว่ามันไม่ใช่ มันมาจากอย่างอื่น สภาพแวดล้อมหรือสิ่งที่เจอมาทำให้คนๆหนึ่งเป็นแบบนี้ อีกอย่างเพลงเพราะมาก ดูจบคือเสิร์จหาฟังเลย

ตอบจบคืออย่างเศร้ามันโหว่งนะ แต่ก็เข้าใจมันเป็นเมื่อก่อนอะนะไม่ได้เหมือนตอนนี้ที่ยังมีการยอมรับกันได้แล้วและมีสื่อที่ทำให้เรารู้ว่าการที่ชอบเพศเดียวกันไม่ได้แปลกประหลาดนะ เพราะฉะนั้นนี่คิดว่าการที่จบแบบนี้มันสมบูรณ์ในแบบของมันแล้วล่ะ ส่วนตัวไม่ชอบเพื่อนของมิว ในหนังไม่ได้ทำให้เรารู้เลยว่ายอมรับที่มิวเป็นเกย์ได้หรือว่ายอมรับเพียงเพราะมิวเป็นเพื่อนสนิทเลยมองข้ามไป ถ้าพวกคุณดูแล้วคิดว่าเราตกหล่นในส่วนนี้ไปคอมเม้นมาบอกได้นะคะ

ซีนตอนวันคริสต์มาสของโต้งกับแม่คือเป็นซีนที่เปิดใจให้กันมากขึ้น เราชอบดีนะ ได้เคลียร์หลายสิ่งที่มันตกค้างกันมาได้ แล้วซีนที่โต้งถามหญิงว่า “เราเป็นอะไรวะ” สะอึกไปเลย การที่เราเรียกตัวเองว่าเป็นเกย์มันยากขนาดนั้นเลยเหรอวะ ทำไมมันถึงกลายเป็นคำที่ทำให้เราแปลกประหลาดเหมือนไม่ปกติกันนะ แค่ชอบเพศเดียวกันเอง ทำไมไม่ทำให้คำว่าเกย์เป็นคำที่ปกติเหมือนคำว่าผู้ชาย ผู้หญิง อย่าว่าแต่สมัยนั้นเลยสมัยนี้ก็มีคนประเภทที่ยอมรับว่าตัวเองเป็นเกย์เหมือนกัน เราคิดว่าพอโซเซียลมีการเทคแอคชั่นเกี่ยวกันเรื่องนี้บ่อยๆมันสามารถทำให้คนเปลี่ยนความคิดได้จริงๆนะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *