รีวิว พี่ชาย My Hero
หนังไทยในช่วงครึ่งปีแรกดูเหมือนจะซบเซาทั้งในแง่รายได้และคำวิจารณ์ครับ แต่ “พี่ชาย My Hero” หรือ How to Win at Checkers (Every Time) ที่เข้าฉายแบบจำกัดโรงในสุดสัปดาห์นี้ ได้สร้างความคึกคักด้านคำวิจารณ์ขึ้นมา และรอคอยผู้ชมที่จะช่วยสร้างความคึกคักด้านรายได้ให้อยู่ครับ รีวิวซีรีย์วาย
หนังบอกเล่าผ่านสายตาของโอ๊ต (โทนี่ รากแก่น) ที่ย้อนนึกถึงตอนวัยเด็ก (อิงครัต ดำรงค์ศักดิ์กุล) ที่อยู่กันลำพังกับพี่ชายชื่อเอก (ถิร ชุติกุล) ในช่วงที่เอกต้องเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารซึ่งจะทำให้ต้องห่างจากโอ๊ตถึง 2 ปี โอ๊ตพยายามหาทางที่จะช่วยไม่ให้เอกไปเป็นทหาร แต่กลับกลายเป็นนำพาไปสู่เหตุการณ์ร้ายที่ยากจะคาดเดาซึ่งได้สอนให้โอ๊ตได้เข้าใจโลกมากขึ้น
กำกับ – จอช คิม
เขียนบท – จอช คิม
อำนวยการสร้าง – Edward Gunawan
– Chris Lee
– อโนชา สุวิชากรพงศ์
นักแสดง – นำถิร ชุติกุล
– อิงครัต ดำรงค์ศักดิ์กุล
– จิณณะ นวรัตน์
– โทนี่ รากแก่น
ผู้บรรยาย – โทนี่ รากแก่น
กำกับภาพ – นิกร ศรีพงศ์วรกุล
ตัดต่อ – กมลธร เอกวัฒนกิจ
รีวิว พี่ชาย My Hero
หนังได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องสั้น At the Café Lovely และ Draft Day จากหนังสือรวมเรื่องสั้น Sightseeing ของนักเขียน เชื้อชาติไทย-อเมริกัน รัฐวุฒิ ลาภเจริญทรัพย์ ภายใต้การกำกับของผู้กำกับชาวเกาหลี จอช คิม ดูหนังออนไลน์
ความเห็นจากผู้ชมและสื่อโดยรวมแทบจะเห็นพ้องกันเลยครับว่านี่น่าจะเป็นหนังไทยที่ดีที่สุดของครึ่งปีนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ชอบที่หนังวิพากษ์วิจารณ์สังคมไทยได้อย่างแสบสันต์ การทีบทหนังที่คมคาย ความสัมพันธ์ที่ซาบซึ้งของพี่น้อง และการแสดงอันยอดเยี่ยมของนักแสดงนำที่น่าจะได้เข้าชิงรางวัลในปีหน้าแน่ๆ ครับ ที่สำคัญก็คือถึงแม้จะมีตัวละครอย่างเอกที่เป็นเกย์ แต่หนังแทบไม่ได้แตะประเด็นเพศสภาพเลย ทำให้ตัวละครเกย์ในเรื่องเป็นเหมือนคนปกติทั่วไปแบบที่ยังไม่ค่อยได้เห็นในหนังไทย
ผมได้รวบรวมคำวิจารณ์จากเฟซบุกและทวิตเตอร์เท่าที่หาได้มาให้อ่านที่ด้านในเผื่อจะพิจารณาหนังเรื่องนี้เป็นตัวเลือกในสัปดาห์นี้และต่อๆ ครับ
อยากจะพูดสั้นๆถึงหนังเรื่อง “พี่ชาย my hero” ผลงานกำกับของจอช คิม-ว่า นี่เป็นหนังไทยในแบบที่ไม่ค่อยได้พบบ่อยนัก หนังที่แสดงการรับรู้ (conscious) ถึงความเป็นไปของสังคมที่พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของมัน หนังที่นำพาผู้ชมไปเผชิญหน้ากับความจริง และมากไปกว่านั้น หนังที่กล้าหาญที่จะวิพากษ์วิจารณ์ หรือแม้กระทั่งเหน็บแนม และด้วยวิธีการที่ทั้งแยบยลและทิ่มแทง ทั้งนี้โดยไม่ได้ละทิ้งแง่มุมอันอ่อนโยนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างพี่ชาย-น้องชาย และการเติบโตขึ้นของตัวละคร ดูหนังออนไลน์
ไม่มีข้อสงสัยว่า นี่คือ ‘หนังไทยเล็กๆที่ยิ่งใหญ่’ ของปี 2015 และพร้อมๆกับการมาถึงของฤดูฝนปีนี้ซึ่งค่อนข้างล่าช้ากว่าที่แล้วๆมา หนังเรื่อง “พี่ชาย my hero” ก็น่าจะทำให้ฤดูฝนของหนังไทย-ได้เริ่มต้นซักที หลังจากที่พวกเราเผชิญกับภาวะแห้งแล้งมาเป็นเวลายาวนาน
ต้องบอกว่าครึ่งปีหลังเป็นปีที่ผมคิดว่ามีภาพยนต์น่าสนใจๆเข้ามาหลายๆเรื่องเลยที่เดียวครับ ทั้งไทยและเทศ สำหรับผมเองก็ถือว่าหนังพี่ชายเป็นหนึ่งในหนังที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง เป็นหนังเพศทางเลือกซึ่งกำกับโดยชาวเกาหลี จอช คิม นักแสดงนำได้แก่ โทนี่ รากแก่น// จิณณ์ นวรัตน์ //โกวิท วัฒนกุล
เปิดฉากมา ตัวหนังเล่าถึง ‘โอ๊ต’ ในวัยเด็กที่มีพี่ชายชื่อ ‘เอก’ ซึ่งตัวคนน้องเองเล่าย้อนกลับไปว่าตัวเองฝันร้ายอยู่บ่อยๆว่าพี่ชายถูกไฟไหม้หน้า จากนั้นก็เปิดมาว่าพี่ชายของตัวเองนั้นคบกับ ‘ไจ๋’ วัยรุ่นที่อายุเท่ากันกับเอก คบกันมาตั้งแต่สมัยมัธยม หนังเดินเรื่องมาถึงจุดที่เอกต้องไปจับใบดำใบแดงในขณะที่โอ๊ตยังเด็กๆครับ เหตุการณ์หลังจากนั้น
ข้อดีของตัวหนังที่ดูแล้วชอบ คือยัดฉากร่วมเพศหรือการแสดงออกทางความรักแบบลึกซึ่งมาไม่มาก ถามว่ามีไหม ? มีนะ แต่แบบมันเรียลอ่ะ ไม่เลี่ยนแบบหนังหรือซีรีย์บางเรื่อง…. ภาพบรรยากาศและการตัดต่อเหมือนกำลังดูสารคดีมากกว่าภาพยนต์ ภาพสวยมากจริงๆ ให้ฟีลเหมือนดูพวกหนังสั้น อารมณ์นั้นครับ อีกเรื่องที่ชอบคือหนังขุดของเล่นสมัยเด็กๆสำหรับ เด็กที่มีฐานะไม่ค่อยดีขึ้นมาจริงๆ เช่นนกอินทรีทรงตัว (ไม่แน่ใจว่าเด็กๆจะเคยได้เล่นไหม เป็นนกอินทรีที่มีศูนย์ถ่วงที่จงอยปากนะครับ เวลาตั้งไว้บนนิ้วแล้วมันไม่หล่น) ส่วนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ผมค่อนข้างชอบนะ นักแสดงทำออกมาได้ดีพอสมควรเลย คือถ้ามีน้องชายผมเองก็อาจจะประมาณแบบนั้น ดูหนังฟรี
ตัวหนังเองดำเนินเรื่องเรื่อยๆ โอ๊ตวัยเด็กไม่อยากให้พี่ชายเป็นทหาร ส่วนแฟนโอ๊ตนั้น ‘เส้น’ จำได้ใบดำ สุดท้ายแล้วโอ๊ตจับได้ ‘ใบแดง
ถามว่าตัวหนังพูดถึงเรื่องเกณฑ์ทหารละเอียดขนาดนั้นไหม ? ผมว่าไม่ขนาดนั้นครับ คือมีการพูดถึงเรื่องการเกณฑ์ทหารจริง มีเรื่องสินบนอะไรประมาณนี้ แต่ก็ไม่ได้ลึกถึงขนาดว่าจะเป็นไกด์นำข้อมูลให้กับเพศที่สามหลายๆคนได้ ซึ่งจริงๆแล้วมีหลายๆคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีขั้นตอนอะไรบ้าง ตรงนี้ถ้าในหนังมีคิดว่าคะแนนในใจมันจะมากกว่านี้ ฉากที่ไม่ชอบก็เช่นฉากในผับ
ที่บทไม่หนักมากครับ ดูไปเรื่อยๆ มีฉากฟินมาพอเป็นกระสัย มีมุกที่ทำให้ยิ้มได้เหมือนกัน เว็ปดูหนังฟรี
ส่วนนักแสดงต้องขอยกนิ้วให้กับ ‘โอ๊ต’ และ ‘เอก’ ครับ น้องโอ๊ตก็โอเคนะ อายุแค่นี้แต่เล่นได้ประมาณนี้นับว่าเก่งนะ ส่วนเอก อันนี้อยากยกความดีความชอบให้ผู้กำกับครับ เอกเป็นผู้ชายที่ผมบอกเลยว่าดูแล้วมองผ่านมากๆ ดูบ้านๆนะ แต่พอผู้ชายคนนี้ฉีกยิ้มแล้วอยากได้เป็นภรรยาทันที่ทันใด คือเป็นคนที่มีสเนห์ตอนยิ้มกับตอนที่มองหน้านานๆ ดูดีบางมุม หุ่นแซ่บลืม ส่วนไจ๋ อันนี้มองว่ามาตราฐานเกย์ทั่วๆไปนะ ผอม แห้ง ขาวๆหน่อย ไม่มีจุดเด่นอะไรมาก (ข้าพเจ้าลืมหน้าไปแล้ว ขอโทษจริงๆครับ
ภาพลักษณ์การเกณฑ์ทหารในเรื่องนี้อาจจะดูเป็นด้านลบ ในแง่ที่ว่า ถ้าจับได้ใบแดงก็ทำให้พี่น้องต้องพลัดพรากกัน แม้จะมีคำว่า เป็นโอกาสได้รับใช้ชาติถ้าจับได้ใบแดง
แต่กับครอบครัวที่เหลือกันอยู่สองพี่น้อง (ผมนับแบบนี้เพราะป้าของเอกก็มีลูกที่ต้องเลี้ยงดูเหมือนกัน) และเอกเป็นผู้มีหน้าที่หารายได้จุนเจือครอบครัว ถ้าให้เอกเลือกได้ เอกคงเลือกที่จะจับใบดำ เพราะหน้าที่ที่บ้านยังมีอยู่ท่วมท้น
ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง เราก็เห็นได้ว่าทหารเกณฑ์ก็เป็นการเสียสละในรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะอาสาสมัครที่จะเป็น หรือเผอิญจับได้ใบแดง แล้วต้องไปเป็นก็ตาม แม้ทหารเกณฑ์จะมีเบี้ยเลี้ยง แต่หนังก็เล่าออกมาอย่างชัดเจนว่า มันไม่พอหรอกครับ เมื่อเทียบกับรายได้ที่เอกทำอยู่ในระบบเอกชน การเสียสละของเอกจึงเป็นการเสียสละของครอบครัวเอกด้วยเช่นกัน
น้องต้องขาดพี่ชายช่วยดูแล และต้องรบกวนป้าซึ่งมีลูกสาวต้องเลี้ยงดูอยู่แล้ว มาดูแลน้องของเอกอีกคน
ทั้งนี้ที่เล่ามาทั้งหมดในมุมของเอกและครอบครัว การไปเป็นทหารเป็นผลเสียมากกว่าผลดี (ถึงได้เรียกว่าเสียสละ) แต่ถ้ามองในมุมระบบ และประเทศชาติ อาชีพทหารเป็นอาชีพหนึ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน หนังอาจจะไม่ได้กล่าวไว้โดยละเอียด แต่ก็ทหารนั่นแหละที่รักษาความสงบในภาคใต้ อันเป็นจุดเกิดเหตุหลายอย่างในเรื่อง
“พี่ชาย My Hero” หรือในชื่อภาษาอังกฤษไม่มีไทยปนว่า How to Win at Checkers (Every Time) ภาพยนตร์ไทยผลงานการกำกับของ “จอช คิม” ลูกครึ่งเกาหลี-อเมริกัน ซึ่งมีเนื้อหาดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นภาษาอังกฤษ ของ “รัฐวุฒิ ลาภเจริญทรัพย์” กำลังเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ เว็ปดูหนังฟรี
หากพิจารณาจากองค์ประกอบข้างต้น ดูเหมือนหนังเรื่องนี้จะ “ไม่ค่อยไทย” มากนัก อย่างไรก็ตาม หนังกลับสามารถสะท้อนสภาพสังคมไทยร่วมสมัยได้อย่างน่าสนใจ ผ่านขอบข่ายประเด็นอันกว้างขวาง ตั้งแต่เรื่องความหลากหลายทางเพศสภาพที่ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตปกติธรรมดาของสามัญชน, ชีวิตนอกกฎหมายในโลกใต้ดิน (ธุรกิจค้าบริการทางเพศ, การเล่นยา และมาเฟียท้องถิ่น), ความเชื่อทางไสยศาสตร์ เรื่อยไปจนถึงปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทั้งหมดถูกปกคลุมด้วยธีมหลักสองประเด็น คือ หนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างพี่ชาย-น้องชาย และ สอง การต้องไปเกณฑ์ทหาร (และการพยายามต่อสู้ขัดขืนกับระบบดังกล่าว) ของทั้งคู่ ซึ่งมีนัยยะสื่อถึงความไม่เป็นธรรมหรือความไม่เท่าเทียมที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย
“พี่ชาย My Hero” เล่าเรื่องราวของ “โอ๊ต” เด็กชายวัย 11 ปี ที่กำพร้าพ่อแม่ ซึ่งอาศัยอยู่กับพี่ชาย ป้า และลูกสาวของป้า (ที่น่าจะเป็นใบ้หรือมีอาการผิดปกติทางร่างกายบางอย่าง)
“เอก” ผู้เป็นพี่ชาย คอยดูแลและประคบประหงมโอ๊ตอย่างดี อย่างไรก็ตาม หนังฉายภาพให้เห็นว่า เอกเป็นเกย์ เขามีคนรักเป็นเพื่อนชายวัยเดียวกันแต่ฐานะดีกว่า นอกจากนี้ เอกยังมีเพื่อนเกย์ ที่แต่งตัวเป็นหญิงอย่างเปิดเผย ตัวละครกลุ่มนี้ไม่ได้ถูกกำหนดให้มีพฤติกรรมวี้ดว้ายกระตู้วู้ แต่พวกเขาดำเนินชีวิตเฉกเช่นคนปกติธรรมดา และทั้งหมดก็ดีกับโอ๊ต
ผมมองย้อนไปถึงเรื่อง Snowpiercer ที่รีวิวไว้ก่อนหน้านี้ บางทีในระบบก็ต้องมีคนเสียสละ เพราะถ้าไม่มีคนเสียสละเลย ทั้งระบบก็อาจจะอยู่ไม่ได้เช่นกัน และระบบของประเทศเราก็มีทั้งระบบสมัครเป็นทหาร และจับใบดำใบแดง ในกรณีที่มีคนสมัครไม่ครบนั่นเอง หลังจากย่อหน้านี้ไปผมจะขอพูดถึงเรื่องจับใบดำและใบแดง
ในมุมมองที่ คนไม่อยากเป็นทหารแล้วต้องมาจับใบดำ/ใบแดง เหมือนกับที่หนังนำเสนอแล้วนะครับ บทวิเคราะห์นี้ไม่ได้มีเจตนาจะบอกว่าเป็นทหารดีหรือไม่ดี จับได้ใบดำหรือใบแดง อันไหนโชคดีกว่ากัน ผมเขียนตามเนื้อหาในหนัง คือ เอกซึ่งมีหน้าที่ที่ต้องดูแลน้องและหารายได้เลี้ยงครอบครัว เอกจึงไม่ได้อยากจับได้ใบแดง เช่นเดียวกับน้องของเอกที่ไม่อยากให้เอกจับได้ใบแดงเช่นกัน
สรุปว่าหนังวายเรื่องนี้ควรค่าแก่การดูหรือไม่
สำหรับหนังวายของพี่ไทยเรื่องนี้ เรียกได้ว่าเป็นหนังชั้นดีอีกเรื่องหนึ่งเลยก็ว่าได้ ที่สื่อเรื่องราวของความรักที่ไม่จำกัดเพศ หรือแม้กระทั่งความรัก ความเข้าใจของคนในครอบครัวอีกด้วย ซึ่งบอกได้เลยว่าเป็นหนังที่ทำออกได้ดีมากๆและยังมีอีกแง่มุมของการเกณฑ์ทหารมาเกี่ยวข้่อง เป็นหนังที่ทำออกมาแบบไร้ที่ติกันเลยทีเดียวเชียวล่ะคุณ เพราะฉะนั้น ห้ามพลาดหนังวายน้ำดีเรื่องเป็นเป็นอันขาดครับ เพื่อนๆสามารถติดตามการรีวิวหนังวาย ซีรีย์วาย สนุกๆ กันได้ที่นี่ รีวิวหนังวาย